Saturday, March 26, 2016

โปรแกรมที่ใช้สำหรับเปิดอินเตอร์เน็ต มีชื่อเรียกว่าอะไร และจงยกตัวอย่างโปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต มา 6 โปรแกรม

เว็บเบราเซอร์ (Web browser) 


              เว็บเบราเซอร์ คือ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ช่วยให้คุณเข้าถึงเว็บไซต์ หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็นโปรแกรมสำหรับใช้เล่นอินเตอร์เน็ต ทั้งนี้เว็บไซต์ต่างๆ จะจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบ เว็บเพจ (web page) ที่สร้างด้วยภาษา HTML (Hypertext Markup Language)
ข้อมูลทั้งหลายของเว็บเพจจะถูกเก็บไว้ในเว็บเซิร์ฟเวอร์ (web server) เชื่อมต่อกันเป็นโครงข่ายขนาดใหญ่ ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ (world wide web หรือ www.)
เว็บเบราเซอร์จึงเหมือนประตูเชื่อมต่อสู่โลกแห่งอินเตอร์เน็ต เวิลด์ไวด์เว็บต่างๆ ซึ่งวิธีการใช้งานนั้นก็แค่กรอกชื่อเว็บไซต์หรือUR (Uniform Resource Locators)ลงในช่องใส่ Address ของเบราเซอร์


โปรแกรมที่ใช้เปิดอินเตอร์เน็ต

1. Microsoft Internet Explorer
Microsoft Internet Explorer หรือ IE คือ โปรแกรมเบราเซอร์โปรแกรมหนึ่ง (ซึ่งสำหรับคนที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows นั้นรู้จักกันดี เพราะเป็นเบราเซอร์ที่มาจากค่ายเดียวกับ windows นั้นเอง) ใช้ในการท่องInternet เป็น Application Software ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft และพัฒนามาต่อเนื่องจนถึงเวอร์ชั่นล่าสุด นั้นคือ IE8

2. Google Chrome
Google Chrome คือ โปรแกรมเว็บเบราเซอร์ (Web Browser) ที่ใช้สำหรับเปิดเว็บไซต์โดยมี Google เป็นผู้พัฒนา ปัจจุบันเป็นที่นิยมของผู้ใช้งาน Internet เป็นอย่างมากเพราะมีความปลอดภัยสูง มีโปรแกรมเสริมมากมาย โดยโปรแกรมเสริมเหล่านี้มีทั้งแบบ Download มาใช้งานได้ฟรี และแบบมีค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังสามารถใช้บริการต่าง ๆ ที่ Google พัฒนาขึ้นได้อย่างหลากหลาย การเปิดหน้าเว็บเพจทำได้อย่างรวดเร็ว Google Chrome จึงเป็นที่นิยมอย่างรวดเร็ว Google Chrome ยังมีการ Update อย่างสม่ำเสมอทำให้มีข้อบอกพร่องน้อยมาก ภาพด้านล่างเป็นภาพรวมของGoogle Chrome ซึ่งจะเห็นว่ามีไอค่อนแสดงอยู่ 3 ไอค่อน ประกอบด้วย Store Docs Google Drive หากคุณเคยสมัคร และมี Gmail Account อยู่แล้วสามารถเข้าสู่ระบบและใช้งานบริการต่าง ๆ ได้อย่างทันที

3. FireFox
Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ IE < Internet Explorer> นำทีมสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว ใช้งานได้สะดวก แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ต้องเปิด window ใหม่ อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle สำหรับการค้นหาข้อมูล

4. Opera
Opera เป็นเบราเซอร์แบบ All-in-one คือมีทุกอย่างมาให้ครบถ้วนในตัวมัน (มีทั้ง Email Client, IRC client, Feed Reader, BitTorrent และยังมีลูกเล่นอื่น ๆ อีกมากมาย) Opera เป็นอีกหนึ่ง web browser คล้ายๆ กับ Internet Explorer และ Firefox โดยเดิมที opera เป็น เพียง project หนึ่งเท่านั้น ต่อมาในปี 1995 จึงได้ออกมาก่อตั้งบริษัท ทำเบราเซอร์ขายOpera นั้นเป็น browser ที่โดดเด่นเสมอมา เนื่องด้วยฟังก์ชันที่ก้าวล้ำนำหน้าคนอื่น ความปลอดภัยสูง รวมไปถึงความเร็วสูงด้วย จนในช่วงหนึ่ง Opera ถึงกับโฆษณาว่าเป็น The Fastest Browser เลยทีเดียว
5. Safari
Safari เป็นโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ที่ชาว Apple น่าจะรู้จักกันเป็นอย่างดี โปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมสำหรับเปิดเว็บไซต์ซึ่งปกติจะมีใช้ในอุปกรณ์ของ Apple อย่างเช่น Macbook, iPad, iPod, iPhone ข้อดีของโปรแกรมคือความง่ายและความรวดเร็วในการใช้งาน พร้อมดีไซน์ที่ดูเรียบง่ายแต่สวยหรูจนหลายคนติดใจ สำหรับเวอร์ชั่นอัพเดทตัวนี้ก็มีการพัฒนาเพิ่มเติมในด้านการทำงานของ Javascript ให้สามารถทำงานได้เร็วขึ้น, แก้ไขบั๊กที่พบเมื่อเปิดเว็บไซต์ที่มีการใช้งาน HTML แก้ไขบั๊กเมื่อเปิดไฟล์ PDF เป็นต้น

6. Plawan Browser
Plawan Browser เป็นเว็บบราวเซอร์ ที่ถูกพัฒนาโดยคนไทยเพื่อคนไทย ด้วยความสามารถของตัวโปรแกรมที่สามารถใช้งานได้ดีในระดับเดียวกับ เว็บบราวเซอร์ ชั้นแนวหน้าอื่นๆ เช่น Microsoft Internet Explorer, Netscape Navigator หรือ Opera แต่มีความสะดวกในการใช้งานมากกว่าทั้งนี้เนื่องจากเมนู การใช้งานสามารถสลับภาษาภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้

อีกทั้งตัวโปรแกรม Plawan Browser ยังมี ระบบ Dictionary อัจฉริยะ ที่สามารถแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยบนเว็บ พร้อมตัวอย่างการใช้ศัพท์ และประโยคในการใช้งานได้อีกด้วย ทำให้เยาวชนหรือผู้เริ่มต้นใช้งานอินเทอร์เน็ตได้รับความสะดวกในการใช้งานอย่างมาก


ที่มา (http://www.it-guides.com/internet-email-freeware/200-top-10-freeware-web-browser)

อินเตอร์เน็ตคืออะไร มีประโยชน์อย่างไร

อินเทอร์เน็ต คืออะไร

             อินเทอร์เน็ต(Internet) คือ เครือข่ายนานาชาติ ที่เกิดจากเครือข่ายขนาดเล็กมากมาย รวมเป็นเครือข่ายเดียวทั้งโลก หรือเครือข่ายสื่อสาร ซึ่งเชื่อมโยงระหว่างคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ที่ต้องการเข้ามาในเครือข่าย สำหรับคำว่า internet หากแยกศัพท์จะได้มา 2 คำ คือ คำว่า Inter และคำว่า net ซึ่ง Inter หมายถึงระหว่าง หรือท่ามกลาง และคำว่า Net มาจากคำว่า Network หรือเครือข่าย เมื่อนำความหมายของทั้ง 2 คำมารวมกัน จึงแปลว่า การเชื่อมต่อกันระหว่างเครือข่าย IP (Internet protocal) Address คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อกันใน internet ต้องมี IP ประจำเครื่อง ซึ่ง IP นี้มีผู้รับผิดชอบคือ IANA (Internet assigned number authority) ซึ่งเป็นหน่วยงานกลางที่ควบคุมดูแล IPV4 ทั่วโลก เป็น Public address ที่ไม่ซ้ำกันเลยในโลกใบนี้ การดูแลจะแยกออกไปตามภูมิภาคต่าง ๆ สำหรับทวีปเอเชียคือ APNIC (Asia pacific network information center) แต่การขอ IP address ตรง ๆ จาก APNIC ดูจะไม่เหมาะนัก เพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ต่าง ๆ เชื่อมต่อด้วย Router ซึ่งทำหน้าที่บอกเส้นทาง ถ้าท่านมีเครือข่ายของตนเองที่ต้องการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ก็ควรขอ IP address จาก ISP (Internet Service Provider) เพื่อขอเชื่อมต่อเครือข่ายผ่าน ISP และผู้ให้บริการก็จะคิดค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อตามความเร็วที่ท่านต้องการ เรียกว่า Bandwidth เช่น 2 Mbps แต่ถ้าท่านอยู่ตามบ้าน และใช้สายโทรศัพท์พื้นฐาน ก็จะได้ความเร็วในปัจจุบันไม่เกิน 56 Kbps ซึ่งเป็น speed ของ MODEM ในปัจจุบัน

            IP address คือเลข 4 ชุด หรือ 4 Byte เช่น 203.158.197.2 หรือ 202.29.78.12 เป็นต้น แต่ถ้าเป็นสถาบันการศึกษาโดยทั่วไปจะได้ IP มา 1 Class C เพื่อแจกจ่ายให้กับ Host ในองค์กรได้ใช้ IP จริงได้ถึง 254 เครื่อง เช่น 203.159.197.0 ถึง 203.159.197.255 แต่ IP แรก และ IP สุดท้ายจะไม่ถูกนำมาใช้ จึงเหลือ IP ให้ใช้ได้จริงเพียง 254 หมายเลข

1 Class C หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.255.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 254

1 Class B หมายถึง Subnet mask เป็น 255.255.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 66,534

1 Class A หมายถึง Subnet mask เป็น 255.0.0.0 และแจก IP จริงในองค์กรได้สูงสุด 16,777,214


ประวัติในระดับนานาชาติ

- อินเทอร์เน็ต เป็นโครงการของ ARPAnet(Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD) ถูกก่อตั้งเมื่อประมาณ ปี พ.ศ.2503(ค.ศ.1960)

- พ.ศ.2512(ค.ศ.1969) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีพ.ศ.2512 นี้เองได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ลองแอนเจลิส สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนียที่ซานตาบาร์บารา และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีพ.ศ.2518(ค.ศ.1975) จึงเปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบให้แก่ หน่วยงานการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ(Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก IAB(Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ใน Internet IETF(Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น

- พ.ศ.2526(ค.ศ.1983) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform และสื่อสารกันได้ถูกต้อง

- การกำหนดชื่อโดเมน(Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ พ.ศ.2529(ค.ศ.1986) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย(Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น

- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง พ.ศ.2533(ค.ศ.1990) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ(National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน

- ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ตัดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก


ประโยชน์ของอินเทอร์เน็ต

1 เป็นแหล่งข้อมูลที่ลึก และกว้าง เพราะข้อมูลถูกสร้างได้ง่าย แม้นักเรียน หรือผู้สูงอายุก็สร้างได้

2 เป็นแหล่งรับ หรือส่งข่าวสาร ได้หลายรูปแบบ เช่น mail, board, icq, irc, sms หรือ web เป็นต้น

3 เป็นแหล่งให้ความบันเทิง เช่น เกม ภาพยนตร์ ข่าว หรือห้องสะสมภาพ เป็นต้น

4 เป็นช่องทางสำหรับทำธุรกิจ สะดวกทั้งผู้ซื้อ และผู้ขาย เช่น e-commerce หรือบริการโอนเงิน เป็นต้น

5 ใช้แทน หรือเสริมสื่อที่ใช้ติดต่อสื่อสาร ในปัจจุบัน โดยเสียค่าใช้จ่าย และเวลาที่ลดลง

6 เป็นช่องทางสำหรับประชาสัมพันธ์สินค้า บริการ หรือองค์กร

ที่มา (http://guru.sanook.com/2774/)

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร มีกี่ประเภท มีโทษอย่างไร

ไวรัสคอมพิวเตอร์คืออะไร 


           ไวรัสคอมพิวเตอร์นั้นไม่ใช้เชื้อโรคที่สามารถแพร่กระจายสู่คนได้แต่อย่างใดแต่มันคือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่งที่ถูกเขียนและพัฒนาขึ้นมาโดยโปรแกรมเมอร์สายมืด (พวกที่เขียนโปรแกรสำหรับก่ออาชญากรรมทางด้านไอที) ไวรัสนั้นเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับระบบคอมพิวเตอร์โดยจุดมุ่งหมายเริ่มแรกมาจากการกลั่นแกล้งกันเพื่อรบกวนไม่ให้ระบบคอมพิวเตอร์เป้าหมายสามารถทำงานได้ตามปกติ แต่เมื่อวันเวลาผ่านไปแนวคิดในการเขียนไวรัสเริ่มรุนแรงขึ้นถึงขั้นทำลายข้อมูล และโจรกรรมข้อมูลเพื่อขายในตลาดมืด (มักจะเป็นข้อมูลลูกค้าของธนาคารหรือสถาบันการเงิน)
           ในปัจจุบันไวรัสและแอนตี้ไวรัสมีการพัฒนาแทบจะเรียกว่าวันต่อวัน จนเราต้องมั่นอัพเดตโปรแกรมสแกนไวรัสให้ใหม่อยู่เสมอ


ประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์




            ไวรัสคอมพิวเตอร์ในโลกนี้มีนับล้านๆ ตัวแต่รู้หรือไม่ว่าโดยพื้นฐานของมันแล้วมาจากแหล่งกำเหนิดที่เหมือนๆ กันซึ่งเราสามารถแบ่งประเภทของไวรัสคอมพิวเตอร์ออกมา ได้ดังนี้
         
            1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses
คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์ การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียนระบบปฏิบัติการ จากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมาก่อนที่จะไปเรียนให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น

           2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses
เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่งที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ในโปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วยการทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันทีแล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำ งานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้วหลังจากนี้หากมีการ เรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหา โปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป

           3. ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียนขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำอธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจจุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์ ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและ สร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจใช้แค่แบต์ไฟล์ก็สามารถโปรแกรมม้าโทรจันได้

          4. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses)
เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเอง ได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจัดโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียวไวรัสใหม่ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึนเรื่อย ๆ

          5. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses)
เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรม ใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้ เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือโปรแกรมใดก็ตามเพื่อตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิม ทุกอย่างราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

          6. มาโครไวรัส (Macro viruses)
จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสาร ติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะเกิดความเสียหายขึ้น


ที่มา http://www.xn--12cg1cxchd0a2gzc1c5d5a.net/%E0%B9%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C/

การประกันราคาขั้นต่ำคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาขั้นต่ำ(Minimum Control)

       มาตรการนี้มักนิยมใช้กับสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งระดับราคาสินค้าที่กําหนดโดย  อุปสงค์และอุปทานของสินค้ามักมีระดับต่ำเกินไป อาจเนื่องมาจากอุปทานมีมากเกินไป หรืออุปสงค์ที่ปรากฏในตลาดไม่ใช่อุปสงค์ที่แท้จริง อันเกิดจากการรวมตัวของผู้ซื้อเพื่อเพิ่มอํานาจการต่อรอง ความเดือดร้อนจึงตกอยู่กับผู้ผลิต (เกษตรกร) รัฐบาลจึงจําเป็นต้องเข้าช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยการกําหนดราคาขั้นต่ําของสินค้า ตามปกติราคาขั้นต่ํามักจะกําหนดให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นโยบายนี้เรียกว่า นโยบายประกันราคาหรือพยุงราคา (Price Guarantee or Price Support)
ซึ่งได้มีผู้พยายามแยกความแตกต่างระหว่างนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคา

นโยบายประกันราคา  เป็นการกําหนดราคาสินค้าให้สูงกว่าดุลยภาพเดิม โดยได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะเส้นอุปสงค์และอุปทาน เป็นการเข้าแทรกแซงราคาโดยตรง
นโยบายพยุงราคา เป็นวิธีการยกระดับราคาดุลยภาพให้สูงขึ้น โดยเพิ่มระดับอุปสงค์ให้สูงขึ้น หรือลดระดับอุปทานให้ต่ําลง โดยกลไกราคายังทํางานปกติ

อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ทั่วๆไป มักจะกล่าวถึงนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคารวมๆ กัน โดยหมายถึง การที่รัฐบาลเข้าไปกําหนดราคาให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นั่นเอง


 นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ

      จากรูป ราคาและปริมาณดุลยภาพคือ OP0 และ OQ0 ถ้ารัฐบาลเห็นว่าราคาOP0 บาท เป็นราคาที่ต่ําเกินไป รัฐบาลก็มากําหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นเป็น OP1 และปรากฏว่าณ ระดับราคา OP1 ปริมาณการเสนอซื้อจะลดลงเหลือ OQ1 ในขณะที่ปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ทําให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) = Q1Q2 ดังนั้นการกําหนดให้มีการขายสินค้าในราคา OP1 ทําให้สินค้าจํานวนหนึ่งไม่สามารถขายได้ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบกับจํานวนสินค้าที่เหลืออยู่ ในทางปฏิบัติรัฐบาลอาจใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพื่อจัดการกับส่วนเกินของสินค้าที่เกิดขึ้น ดังนี้

(ก) รัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ  โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อ
อุปทานส่วนเกินเป็นจํานวนเงิน = OP1 × Q1Q2 = พ.ท. Q1ABQ2 และต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การเตรียมจัดยุ้งฉางและไซโลไว้ซึ่งสินค้าที่รัฐบาลรับซื้อไว้อาจนําไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เช่น
นําออกไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดอุทกภัย อัคคีภัย และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่คาดฝัน รวมทั้ง
นําออกไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลน หรือส่งไปยังต่างประเทศ

(ข) รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต  มาตรการนี้รัฐบาลปล่อยให้เกษตรกรขาย
ทั้งหมด = OQ2 ราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจซื้อทั้งหมดคือราคา OP2 ส่วนต่างระหว่างราคา OP1 และ
OP2 ซึ่งเท่ากับ P1P2 ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เท่ากับส่วนต่างของราคาคือ P1P2

ในกรณีนี้รัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน = พ.ท. P1BCP2




นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน

    จากมาตรการทั้ง 2 มาตรการ จะใชมาตรการใดขึ้นอยู่กับจํานวนเงินที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในมาตรการใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานมาพิจารณาประกอบด้วย

การกำหนดราคาขั้นต่ำ รัฐจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สินค้า
ชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ
โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น
- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน

ที่มา http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf

การประกันราคาขึ้นสูงคืออะไร และทำเพื่อใคร

กําหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Control)



           เป็นนโยบายที่รัฐบาลนํามาใช้เมื่อเห็นว่าราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เป็นราคาที่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะถ้าเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ ดังนั้นรัฐบาลจึงจําเป็นจะต้องหาทางช่วยแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการกําหนดราคาขั้นสูง โดยทั่วไปราคาขั้นสูงมักต่ํากว่าราคาดุลยภาพ นโยบายดังกล่าวมักเรียกกันว่า นโยบายควบคุมราคา (Price Control Policy)


(นโยบายการควบคุมราคา)


          จากรูป ราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยกลไกราคา คือ OP0 ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลเห็นว่าสูงเกินไป จึงเข้าแทรกแซงราคาสินค้าให้ต่ําลงเป็น OP1 มีผลทําให้ปริมาณการเสนอซื้อเป็น OQ1 แต่ปริมาณการเสนอขายกลับลดลงเป็น OQ2 เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) = O1Q2 ก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า = Q1Q2

การใช้นโยบายประกันราคาขั้นสูงของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลตามมาคือ

(ก) จะเกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน ใครมาทีหลังไม่ได้ก่อให้เกิดการรอ
คิวเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเวลา ถ้าคิดเป็นเงินแล้วอาจสูงกว่าราคาที่ซื้อขาย

(ข) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพของสินค้า หรือการให้บริการหลังขาย

(ค) เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้ากันอย่างลับๆ ที่เรียกกันว่า ตลาดมืด (Black Market)
โดยราคาที่ซื้อขายจะสูงกว่าราคาควบคุม แต่ไม่สูงกว่าราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายในที่นี้ OP2

เพื่อให้มาตรการการกําหนดราคาขั้นสูงทํางานได้รัฐบาลมักจะใช้นโยบายควบคู่กันไป คือ
(ก) นโยบายการปันส่วน (Rationing Policy) เพื่อกระจายสินค้าที่มีไม่เพียงพอให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
โดยวิธีการแจกคูปอง ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า

(ข) การนําเข้า (Import) เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ขาดแคลนทําให้ Supply ของสินค้าเพิ่มขึ้น
เช่นในกรณีที่รัฐบาลเคยนําเข้าปูนซีเมนต์จากจีน หรือน้ําตาลจากอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนสินค้าดังกล่าว

การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน จากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด


ที่มา http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา และอุปทานต่อราคา มีประโยชน์อย่างไร


Price Elasticity of Demand(ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา)
  • จะเห็นว่ากราฟบนนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาจาก P1 เป็น P2 ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการจาก C ไป D ซึ่งเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ
  • ในขณะเดียวกันกราฟล่างนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาจาก P1 เป็น P2 ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการจาก A ไป B ซึ่งเปลี่ยนไปค่อนข้างน้อย
  • การที่กราฟบนเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการมากกว่ากราฟล่างทั้งๆที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาในปริมาณเท่ากัน เราเรียกว่า กราฟบนนั้นมี Price Elasticity of Demand สูงกว่ากราฟล่าง
เราสามารถหาค่า Price Elasticity of Demand ได้จากสูตร

Ped (ε) = %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการ / %การเปลี่ยนแปลงของราคา
เช่น ถ้าขึ้นราคาสินค้า 20% แล้วทำให้ขายสินค้าได้ลดลง 10%
Price Elasticity of Demand = -10% / 20% = -0.5
เครื่องหมายลบที่ได้ เป็นเรื่องปกติของ Price Elasticity of Demand เนื่องจากการขึ้นราคาทำให้ demand ลดลง (ไปทิศทางตรงข้ามกันนั่นเอง)
ส่วนปริมาณของตัวเลข ถ้า

  • ε > 1 = Elastic : การเปลี่ยนแปลงราคาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการในสัดส่วนที่สูงกว่า
  • ε < 1 = Inelastic : การเปลี่ยนแปลงราคาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการในสัดส่วนที่ต่ำกว่า
  • ε = 1 = Unit Elastic : การเปลี่ยนแปลงราคาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการในสัดส่วนที่เท่ากัน

สิ่งที่ต้องระวัง
Price Elasticity of Demand ของแต่ละตำแหน่งบนเส้น Demand นั้นมีค่าไม่เท่ากัน โดยจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังแสดงในภาพด้านล่าง



ε = %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการ / %การเปลี่ยนแปลงของราคา
ε = ΔQ/Q ÷ ΔP/P
ปัญหาอยู่ที่ว่าจะใช้ Q และ P ตัวไหน? ตัวแรก ตัวหลัง(ที่เปลี่ยนไปแล้ว) ??
คำตอบคือ เรานิยมเอามาเฉลี่ยกันครับ ดังนั้นจะได้ว่า
ε = (ΔQ/Qavg) ÷ ( ΔP/Pavg)
ดังนั้น ถ้าเราจะหา ε ที่จุด B เราก็ควรหาการเปลี่ยนแปลงจากจุด A ไป C ครับ (ให้จุด B อยู่กึ่งกลาง)
  • นั่นก็คือ ε = (20-10 /15) ÷ (2-4 /3)
  • ε = (10 /15) ÷ (-2 /3)
  • ε = -1 นั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Price Elasticity of Demand

  • ปริมาณและความใกล้เคียงของสินค้าทดแทน = ถ้าหากมีสินค้าทดแทนได้ง่ายๆ คนก็สามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนได้ง่ายขึ้น เวลาขึ้นราคาเล็กน้อย demand อาจจะหายไปเยอะ แปลว่า จะมี Price Elasticity of Demand เยอะนั่นเอง
  • สัดส่วนของรายได้ที่ใช้จ่ายสินค้านั้น = ยิงเราต้องจ่ายสินค้านั้นสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของเรา เราก็ยิ่งจะไม่อยากจะซื้อเมื่อมันราคาสูงขึ้น แปลว่า จะมี Price Elasticity of Demand เยอะนั่นเอง
  • ช่วงเวลา = ยิ่งเวลาผ่านไปมาก คนก็จะยิ่งหาสินค้าทดแทนได้มากขึ้นๆ นั่นแปลว่า เมื่อเวลาผ่านไป Price Elasticity of Demand ก็จะมากนั่นเอง ( แปลว่า กราฟจะมี slope ต่ำลงๆ เมื่อเวลาผ่านไป ) 
การนำไปใช้ประโยชน์

Revenue = Price x Quantity

ถ้าเราต้องการจะเพิ่ม Revenue เราจะลดราคาหรือจะเพิ่มราคา? คำตอบก็อยู่ที่ Price Elasticity of Demand นั่นเอง
สมมติ ถ้าสินค้าเรามี Demand แบบ Inelastic : แปลว่าถ้าหากเราลดราคาแล้ว Quantity จะเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยกว่า เราจะพบว่า Revenue ของเราก็จะลดลง ดังนั้น เราควรจะขึ้นราคามากกว่า เพราะ Quantity จะลดในสัดส่วนที่น้อยกว่า เราจะพบว่า Revenue ของเราก็จะมากขึ้นได้!!
Elasticity of Supply (ความยืดหยุ่นของอุปทาน )


กฎที่สำคัญก็คือ “เมื่อราคาของสินค้าสูงขึ้น ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าก็จะสูงขึ้น” นั่นเป็นเพราะว่าบริษัทจะได้กำไรมากขึ้นด้วยนั่นเอง

ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ Supply เปลี่ยนไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกดังนี้

  • ต้นทุนการผลิต = เมื่อต้นทุนสูงขึ้น กำไรก็จะลดลง บริษัทก็จะทำการผลิตน้อยลง สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนเปลี่ยนไปมีดังนี้
  • ราคาต้นทุนสินค้าเปลี่ยนไป, เทคโนโลยีเปลี่ยน, การเปลี่ยนแปลงทางองค์กร, นโยบายของภาครัฐ
  • ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าทดแทน = หากสินค้าทดแทนสามารถทำกำไรได้มาก ผู้ผลิตก็จะเปลี่ยนไปทำสินค้าทดแทนมากขึ้น ทำให้ Supply ลดลง
  • ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าอุปทานร่วม = เวลาเราผลิตสินค้าบางอย่าง ก็อาจจะต้องมีการผลิตสินค้าอีกอย่างออกมาพร้อมกันด้วย เราเรียกว่า สินค้าอุปทานร่วม (joint supply) และถ้าหากมันมีกำไรมาก Supply ของสินค้าตัวที่พิจารณานี้ก็จะมากด้วย
  • เหตุการณ์ไม่คาดฝัน = เวลาเกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็จะส่งผลต่อ supply เช่นกัน
  • การคาดการราคาสินค้าในอนาคต = หากคาดว่าในอนาคตสินค้าจะมีราคาสูงขึ้น ผู้ผลิจก็จะ supply น้อยลงในปัจจุบัน (เอาไว้รอขายตอนราคาสูง)
  • จำนวนของผู้ผลิต = หากมีผู้ผลิตเข้ามาในตลาดมาก supply ก็จะเยอะ
ข้อ ควรระวัง!!

  • เมื่อราคาเปลี่ยนไป ==> จะมีการเลื่อนภายในเส้นกราฟ Supply (Movement along curve) เราจะเรียกว่า ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าเปลี่ยนไป ( Change in the Quantity Supplied )

ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคา
  • ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความหยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
  • ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้าไว้สูงหรือต่ำเพียงใด ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
  • นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ที่มา http://www.coursework4you.co.uk/essays-and-dissertations/sample5.php

Wednesday, March 16, 2016

พื้นฐานเกี่ยวกับ Visaul Basic

 
       
 

 

 

 ขั้นตอนในการพัฒนาโปรแกรมของ Visual Basic

 
                  ขั้นตอนที่ 1 การสร้างจอภาพของโปรแกรม ในขั้นตอนนี้จำนำ Form มาออกแบบเพื่อใช้ในการติดต่อกับผู้ใช้ หรือที่เรียกว่าการออกแบบ "User Interface" ซึ่งสามารถทำได้ง่ายดาย เพียงแค่นำเอา Control ต่าง ๆ ใน ToolBox ที่ต้องการใช้งานมาวาดลงบน Form
 
                  ขั้นตอนที่ 2 เขียนโปรแกรม เมื่อวาง Control ต่าง ๆ ลงน Form เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อมาคือการเขียนโปรแกรมเพื่อกำหนดการทำงานให้แต่ละ Object ภายใต้เหตุการณ์ (Event) ต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น
 
 
*** Project ในโปรแกรม Visual Basic***
 
          ในโปรแกรม Visual Basic แต่ละจอภาพที่พัฒนาขึ้นคือ Form ต่าง ๆ ซึ่งเมื่อนำมารวมกันก็จะกลายเป็น ระบบงานระบบหนึ่ง ที่เรียกว่า Project และ Project และ Form จะต้องทำงานร่วมกันจะขาดไฟล์ใดไฟล์หนึ่งไม่ได้
 
 
 
 
***Control ในโปรแกรม Visual Basic***
 
 
           Control เป็นเครื่องมือต่าง ๆ ใน Tool Box ซึ่งใช้ในการสร้างจอภาพ และจะมีชื่อเรียกและและการทำงานที่แตกต่างกันไป 
             
 
 
 
รูปแสดงชื่อของ Control มาตรฐานต่าง ๆ ในโปรแกรม Visual ฺBasic
 
 
 
*** Object (วัตถุุ) ในโปรแกรม Visual Basic***
 
 
           Object ในโปรแกรม Visual ฺBasic คือส่วนของ Control ต่า่ง ๆ ใน Tool Box ที่นำมาวาดลงบน Form และคุณสมบัติ ของ Object จะประกอบไปด้วย Data และ  Code

                         1. Data คือคุณสมบัติ (Property) ประจำตัวของแต่ละ Object เช่น ชื่อ ความยาว ความสูง เป็นต้น
                         2. Code คือ Method ประจำตัวของแต่ละ Object

 
 
 
 
 
 
รูปแสดงส่วนประกอบของ Object
 
 
 
 
         *** การเข้าสู่โปรแกรม Visaul Basic 6.0 ***
                         คลิกที่ปุ่ม Start--> Programs --> Microsoft Basic 6.0 --> Microsoft Visual Basic 6.0
 
 
 
 
 
 
รูปแสดงการเข้าสู่โปรแกรม
 
 
 
 
           เมื่อเข้าสู่โปรแกรม Visual Basic 6.0 จะพบกับหน้าต่างแรกของโปรแกรมที่ใช้สำหรับพัฒนาโปรแกรม ซึ่งโดยทั่วไป เรียกว่า
New Project ประกอบด้วย 3 แท็บ ดังนี้
           1. Tab Newเป็นหน้าต่างที่ประกอบไปด้วย Icon ต่าง ๆ ที่ใช้สำหรับเรียกใช้งาน Project ใหม่โดยแต่ละไอคอน ก็ จะมีคุณสมบัติ ฺเหมาะกับงานในแต่ละอย่างไป โดยปกติการพัฒนาโปรแกรมจะใช้ไอคอน Standard.EXE
 
 
 
 
 
รูปแสดงหน้าต่าง Tab Newt
  
   --< ประเภทของ New Project >--
- Standard.EXE ใช้สร้างโปรแกรมทั่วไปในรูปแบบ GUI
- ActiveX.EXE สร้างโปรแกรมติดต่อกับโปรแกรมในรูปแบบ OLE
- ActiveX.DLL เหมือนกับ AXtiveX.EXE แต่จะเป็นนามสกุล DLL ไม่สามารถ run ด้วยตัวเองได้
- ActiveXControl ใช้สร้าง control ขึ้นเองในโปรแกรม
- VB Application Wizard สร้างโปรแกรมตามโครงสร้างของ Database
- Addin ใช้เพิ่ม Utility ใน Visual Basic
- ActiveX Document DLL ใช้ run บน internet explorer แต่มีนามสกุลเป็น DLL
- ActiveX Document EXE ใช้ run บน internet explorer แต่มีนามสกุลเป็น EXE
 
     
             2. Tab Existing เป็นหน้าต่างที่ใช้สำหรับเรียก Project เดิมที่มีการพัฒนาไว้แล้วขึ้นมาใช้ งานหรือมาแก้ไขโปรแกรม โดยให้ เลือกโฟลเดอร์ที่จัดเก็บ Project แล้วเลือกไฟล์ Project ที่ต้องการและคลิกOpen
 
 
 
 
 
 
 
รูปแสดงหน้าต่าง Tab Existing
 
 
            3. Tab Recent เป็นหน้าต่างที่แสดงรายการของ Project ต่าง ๆ ที่เคยถูกเรียกขึ้นมาใช้งาน ซึ่งผู้ใช้สามารถเรียกขึ้นมา ใช้งานได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น
 
 
 
 
 
รูปแสดงหน้าต่าง Tab Recent
 
 
 
 
 
 
 
 
*** Form ในโปรแกรม Visual Basic***
 
 
            ฟอร์ม (Form)   เป็นส่วนที่ใช้สำหรับสร้างจอภาพของโปรแกรม โดยจะทำหน้าที่เป็นพื้น (Background) ของจอภาพ ทุกครั้งของการเปิด Project ใหม่ จะได้ฟอร์มเปล่าดังรูป
 
 
 
 
 
 
 
รูปแสดง Form
 
 
 
 

การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์

 การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (Computer programming)
 
หรือเรียกให้สั้นลงว่า การเขียนโปรแกรม ( Programming) หรือ การเขียนโค้ด (Coding) เป็นขั้นตอนการเขียน ทดสอบ และดูแลซอร์สโค้ดของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งซอร์สโค้ดนั้นจะเขียนด้วยภาษาโปรแกรม ขั้นตอนการเขียนโปรแกรมต้องการความรู้ในหลายด้านด้วยกัน เกี่ยวกับโปรแกรมที่ต้องการจะเขียน และอัลกอริทึมที่จะใช้ ซึ่งในวิศวกรรมซอฟต์แวร์นั้น การเขียนโปรแกรมถือเป็นเพียงขั้นหนึ่งในวงจรชีวิตของการพัฒนาซอฟแวร์
          การเขียนโปรแกรมจะได้มาซึ่งซอร์สโค้ดของโปรแกรมนั้นๆ โดยปกติแล้วจะอยู่ในรูปแบบของ plain text ซึ่งไม่สามารถนำไปใช้งานได้ จะต้องผ่านการคอมไพล์ตัวซอร์สโค้ดนั้นให้เป็นภาษาเครื่อง (Machine Language) เสียก่อนจึงจะได้เป็นโปรแกรมที่พร้อมใช้งานการเขียนโปรแกรมถือว่าเป็นการผสมผสานกันระหว่างศาสตร์ของคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และวิศวกรรม เข้าด้วยกัน
 (ที่มา: http://th.wikipedia.org)
นักเรียนดูตัวอย่างซอร์สโค้สหรือรหัสโปรแกรม ของโปรแกรมภาษา C# ต่อไปนี้
int width = 5, length = 20;
int RectangleArea = width * length;
Console.WriteLine("Rectangle Area={0}", RectangleArea);
Console.ReadKey();
            จะเห็นว่ารหัสโปรแกรมนั้นเต็มไปด้วยคำภาษาอังกฤษ เพราะผู้พัฒนาโปรแกรมภาษา C# คือบริษัทไมโครซอฟต์ คอร์เปอเรชั่น จำกัด จากประเทศอเมริกา อีกอย่างภาษาอังกฤษเป็นภาษาสากลที่ทั่วโลกสามารถดูแล้วเข้าใจได้ ภาษา C# นั้นเป็นภาษาระดับสูง รหัสโปรแกรมต่างๆ จึงมีความใกล้เคียงกับภาษาอังกฤษที่ใช้สื่อสารกัน
            การทำงานของโปรแกรมจะเริ่มทำงานจากบรรทัดบนสุดมายังบรรทัดล่างสุด ดังนั้นการวางลำดับของคำสั่งจึงมีความสำคัญ เราจึงต้องวางคำสั่งที่เกี่ยวกับการนำเข้าข้อมูล (Input) ก่อนเป็นลำดับแรก จากนั้นจึงวางคำสั่งเกี่ยวกับการประมวลผล (Process) และคำสั่งแสดงผลลัพธ์ (Output) ตามลำดับ นักเรียนพิจารณาขั้นตอนการหาพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนี้
                   ขั้นตอนที่ 1.กำหนดขนาดด้านกว้าง
                   ขั้นตอนที่ 2.กำหนดขนาดด้านยาว
                   ขั้นตอนที่ 3.คำนวณหาพื้นที่โดยใช้สูตร ขนาดพื้นที่ = ด้านกว้าง x ด้านยาว
                   ขั้นตอนที่ 4.แสดงขนาดพื้นที่ที่คำนวณได้
            ขั้นที่ 1-2 ก็คือการนำเข้าข้อมูล ขั้นที่ 3 คือการประมวลผล และขั้นที่ 4 คือการแสดงผลลัพธ์นั่นเอง
            นักเรียนคงทราบมาบ้างแล้วว่าตามหลักคณิตศาสตร์แล้วไม่นิยมเขียนสูตรสมการเป็นข้อความภาษาไทย เนื่องจากคณิตศาสตร์เป็นภาษาสากลที่ทุกคนทั่วโลกดูแล้วเข้าใจได้ตรงกัน จึงนิยมใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ นักเรียนพิจารณาสูตรการคำนวณหาขนาดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า ดังนี้

ขนาดพื้นที่  = ด้านกว้าง x ด้านยาว

 
คำว่า “ขนาดพื้นที่” ตรงคำในภาษาอังกฤษว่า  “Area” 
คำว่า “ด้านกว้างหรือความกว้าง” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Width”  
คำว่า “ด้านยาวหรือความยาว” ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า “Length
เมื่อนำตัวอักษรตัวแรกของแต่ละคำมาใช้แทนสูตรคำนวณ อาจเขียนได้ดังนี้
A = W x L    
สูตรสมการที่ใช้ในทางคณิตศาสตร์หรือสถิติ ส่วนใหญ่นิยมเขียนในลักษณะนี้ เช่น
                   สูตร การหาขนาดพื้นที่สีเหลี่ยมผืนผ้า
                                                 A = W x L    
                                     โดยที่      A           คือ          ขนาดพื้นที่
                                                  W           คือ          ด้านกว้าง
                                                   L           คือ          ด้านยาว
                                               
  ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่เรานำมาใช้ เรียกว่า “ตัวแปร” ที่เรียกว่าตัวแปรเพราะว่า ค่าของมันสามารถแปรเปลี่ยนไปได้เรื่อยๆ นั่นเอง อยู่ที่ว่าเราจะเอาตัวเลขใดเข้าไปแทนตัวแปรเพื่อหาคำตอบ
 


ข้อควรรู้   การกำหนดตัวแปรในการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ไม่นิยมใช้อักษรตัวแรกมาเป็นตัวแปร เพราะอาจสื่อความหมายผิดได้ ในทางคอมพิวเตอร์นิยมใช้คำเต็ม ได้แก่  Area = Width x Length ซึ่งสื่อความหมายดีกว่า  


 
      ตัวแปรที่เรากล่าวถึงมาในข้างต้นถือว่ามีความสำคัญมาก เพราะในรหัสโปรแกรมต่างๆ นั้นเต็มไปด้วยตัวแปรมากมาย นักเรียนลองพิจารณารหัสโปรแกรมในภาษา C# ต่อไปนี้
            // --------โปรแกรมหาค่าเฉลี่ย---------
double number, sum = 0;
int n = 0;
do
{
     Console.Write("Input number:");
     number = double.Parse(Console.ReadLine());
     if (number != 0)
     {
          sum = sum + number;
          n = n + 1;
     }
} while (number != 0);
Console.WriteLine("Average = {0:F2}", sum / n);
Console.ReadKey();
         นักเรียนแยกแยะออกหรือไม่ว่า จากโปรแกรมข้างต้น คำในภาษาอังกฤษคำใดบ้างที่เป็นตัวแปร คำตอบก็คือ number, sum และ n โดยที่ตัวแปร number คือตัวเลขที่ถูกป้อนเข้าไปหลายๆ ครั้งด้วยการวนซ้ำเพื่อนำไปหาค่าเฉลี่ย ตัวแปร sum เป็นตัวที่ใช้เก็บผลรวมของตัวเลขที่ถูกป้อนเข้าไปทั้งหมด เพื่อนำไปใช้เป็นตัวตั้งในการหาค่าเฉลี่ย ส่วนตัว n คือตัวแปรที่ใช้นับจำนวนครั้งที่ป้อนตัวเลขเข้าไป เพื่อนำไปใช้เป็นตัวหาร
         สำหรับคำอื่นๆ ที่ปรากฏอยู่ในโปรแกรม เป็นคำสั่งต่างๆ ซึ่งนักเรียนยังไม่ต้องกังวล เพราะเมื่อถึงเวลาที่นักเรียนได้ฝึกทักษะการเขียนโปรแกรมแล้วนักเรียนจะเข้าใจได้เอง
         สรุปว่าในโปรแกรมจะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนหลักๆ ดังแผนภาพต่อไปนี้
 
 
 
 แผนภาพแสดงขั้นตอนของโปรแกรม
           หมายความว่า โปรแกรมนั้นจะเริ่มจากการป้อนข้อมูลหรือรับข้อมูลเข้าไปก่อน จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้ไปประมวลผลหรือดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เมื่อได้ผลลัพธ์แล้วจึงนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลออกทางจอภาพหรือเครื่องพิมพ์นั่นเอง 
เราจะลองแยกรหัสโปรแกรมข้างต้นให้เป็น 3 ขั้นตอนดังแผนภาพ ดังนี้
1.การรับข้อมูลเข้า (Input) ก็คือการป้อนค่าตัวเลขเข้าไปในโปรแกรม ดังนี้
                  Console.Write("Input number:");                                          
                  number = double.Parse(Console.ReadLine()); 
2.การประมวลผล (Process)  ก็คือ การหาผลรวมของตัวเลขที่ป้อน การหาผลรวมของจำนวนครั้งที่ป้อนรวมทั้งการหาค่าเฉลี่ย  ดังนี้
     sum = sum + number;
n = n + 1; 
3.การแสดงผลลัพธ์ (Output) ก็คือการแสดงผลลัพธ์ค่าเฉลี่ยที่คำนวณได้ออกทางจอภาพนั่นเอง ดังนี้
Console.WriteLine("Average = {0:F2}", sum / n); 
 
 
(อ้างอิงจาก http://computer.bps.in.th/suteerat/analyze)

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมด้วย C#

1.วิธีการเรียกใช้โปรแกรม Visual C#
            โปรแกรม Microsoft Visual C# 2010 Express เป็นชุดโปรแกรมที่บริษัทไมโครซอฟต์อนุญาตให้ดาวน์โหลดติดตั้งได้ฟรี เพราะเวอร์ชัน Express เป็นชุดที่ใช้ในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น จึงไม่ติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์ นักเรียนสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้ง และทดลองใช้เขียนโปรแกรมได้เองที่บ้าน  
            เมื่อเข้าสู่โปรแกรม C# นักเรียนจะพบหน้าต่าง Start Page ดังรูปต่อไปนี้
 
 
 
 
              การเขียนโปรแกรมจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างโปรเจ็ค (Project) เสียก่อน โดยการคลิกที่ลิงค์  New Project ดังรูป หรือคลิกที่เมนู File แล้วเลือก New Project ก็ได้
            จากนั้นโปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง New Project ขึ้นมาให้เลือกรูปแบบของโปรแกรมที่ต้องการ ให้นักเรียนเลือก Console Application แล้วคลิกตกลง ดังรูป
 
 
 
 
            จากนั้นนักเรียนจะได้  Project และไฟล์ที่ใช้ในการเขียนรหัสคำสั่งชื่อ Program.cs โดยไฟล์นี้โปรแกรม C# จะสร้างรหัสโปรแกรมมาให้ส่วนหนึ่ง ดังรูป เพื่อช่วยให้เราเขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้น
 
 
 
 
           
 2.โครงสร้างคำสั่งโปรแกรมภาษา C#
 
                โปรแกรมภาษา C# มีรูปแบบโครงสร้างคำสั่งดังนี้
 
 
 
 
3.รูปแบบคำสั่ง
             โปรแกรมภาษา C# เป็นโปรแกรมภาษารุ่นล่าสุดของบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนามาจากภาษา C++ และ Java จุดประสงค์เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ C# สามารถเขียนโปรแกรมได้หลายรูปแบบ มีคำสั่งต่างๆ มากมายที่ให้เราเรียกใช้ และมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมาก เช่น namespace, class, method, property, statement เป็นต้น บางครั้งจึงดูเหมือนยุ่งยากและซับซ้อนในการเขียนโปรแกรม ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเราจะเรียนรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น นักเรียนลองพิจารณารหัสโปรแกรม ต่อไปนี้ 
 
               string name = "Suteerat"; // สามารถทดลองเปลี่ยนชื่อก่อนรันได้             
               int size = name.Length;              
               if (size > 10)                              
                    Console.Write("Long name.");  
               else
                    Console.Write("Short name."); 
               Console.ReadKey();                    

           โปรแกรมตัวอย่างนี้จะมีคำสั่งทั้งหมด 6 คำสั่ง (คำสั่งที่มีเครื่องหมาย ; 5 คำสั่ง และคำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข if...else อีก 1 คำสั่ง)  ขอกล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับสีของคำสั่ง ดังนี้
            1.สีน้ำเงิน หมายถึงคำสั่งที่เป็นคำสงวนของโปรแกรม C# ได้แก่คำว่า string, int, if, else คำเหล่านี้เป็นคำสั่งสำเร็จของ C# ที่เรานำมาใช้เพื่อจุดประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเราจะไม่สามารถตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำเหล่านี้ได้ string กับ int เราใช้สำหรับประกาศตัวแปรให้เป็นชนิดข้อความและตัวเลขจำนวนเต็มตามลำดับ ส่วนคำสั่ง if...else ใช้สำหรับการตรวจสอบเงื่อนไขในการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ข้อสังเกตก็คือ คำสั่งเหล่านี้จะอยู่แบบเดี่ยวๆ ไม่ต้องมีจุดต่อท้ายเหมือนคำสั่งอื่นๆ และอักษรตัวแรกของคำสั่งจะเป็นตัวพิมพ์เล็กเสมอ
            2.สีฟ้า เป็นการบ่งบอกว่าคำเหล่านี้เป็นชื่อของคลาสที่เรานำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งคลาสก็คือที่ที่เก็บเมธอดซึ่งเป็นคำสั่งเพื่อให้โปรแกรมทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด การที่เราจะเรียกใช้เมธอดใดก็ตามเราจะต้องระบุชื่อของคลาสเสียก่อนแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุดแล้วจึงระบุชื่อของเมธอดอีกที จากโปรแกรมเราจะเรียกใช้คลาส Console ข้อสังเกตก็คือคำสั่งที่เป็นคลาสเหล่านี้มักจะมีจุดต่อท้ายแล้วตามด้วยคำสั่งอื่นๆ อีกเสมอ และอักษรตัวแรกของคำสั่งจะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
            3.สีดำ สีนี้จะนำมาใช้กับคำสั่งหลายๆ ชนิด เช่น ชื่อของตัวแปร ได้แก่ name และ size (ชื่อของตัวแปรเราจะเป็นผู้ตั้งชื่อเอง) ชื่อของเมธอด ได้แก่ Write และ ReadKey ชื่อของพร็อพเพอตี้ ได้แก่ Length เครื่องหมายต่างๆ ได้แก่ =  >   .  ( ) และ ; ใช้กับค่าคงที่ที่เป็นตัวเลขได้แก่ 10 ดังนั้นสีดำ จึงถูกนำมาใช้มากที่สุด แสดงว่าสีดำเป็นสีที่ไม่ต้องการเน้นเป็นพิเศษนั่นเอง ข้อสังเกตที่สำคัญก็คือ ถ้าเป็นชื่อของเมธอดจะพิมพ์ต่อเนื่องมาจากคลาสอีกทีโดยมีเครื่องหมายจุดเป็นตัวคั่นหรือแบ่งแยกระหว่างคลาสกับเมธอด นอกจากนั้นเมธอดจะมีวงเล็บต่อท้ายเสมอและอักษรตัวแรกจะขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่เสมอ
            ส่วนพร็อพเพอตี้นั้นอักษรตัวแรกจะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอเช่นกัน แต่จะไม่มีวงเล็บต่อท้ายเหมือนเมธอดและพร็อพเพอตี้อาจจะอยู่ต่อท้ายของตัวแปร หรือเมธอดก็ได้
            ไม่ว่าจะเป็นคลาส เมธอด หรือพร็อพเพอตี้จะเป็นคำสั่งสำเร็จรูปที่ C# เตรียมไว้ให้เรานำมาใช้ได้เลย ดังนั้นเราจะพิมพ์ชื่อผิดเพี้ยนไม่ได้ โปรแกรมจะแจ้งข้อผิดพลาดทันที เช่น คำสั่ง ReadKey เราจะพิมพ์เป็น readkey หรือ Readkey หรือ readKey ไม่ได้เด็ดขาด
            4.สีแดง เป็นสีที่นำมาใช้ค่าคงที่ที่เป็นข้อความ (string) หรือ ตัวอักขระ (char) ที่อยู่ภายใต้เครื่องหมาย "..." และ '...' เท่านั้น 
            5.สีเขียว ใช้กับคำอธิบายโปรแกรม ซึ่งจะไม่มีผลอะไรกับการทำงานของโปรแกรม
หมายเหตุ    นักเรียนจะเห็นว่าคำสั่งสำหรับทำงาน 1 คำสั่งจะมาจากคำสั่งย่อยๆ หลายๆ คำสั่ง สำหรับรายละเอียดในเรื่องของคำสั่งต่างๆ นักเรียนจะได้เรียนรู้ในภายหลัง
 4.องค์ประกอบพื้นฐานที่ควรรู้จัก
            มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญบางอย่างตามรูปแบบของ C# ที่เราควรรู้จักมีดังนี้
 
4.1 บล็อก  { ... }
            รูปแบบของภาษา  ก็เช่นเดียวกับ c / c ++ คือจะใช้บล็อก { ... } ในการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการทำงานในแต่ละส่วน ซึ่งภายในบล็อกอาจมีบล็อกย่อยๆ ซ้อนลงไปได้อีก  ตามลักษณะของงาน เช่น
               if (……………..) 
                {
               for (……………..) 
                   {
                          ……….
                          ……….
                    }
                ……….
                ……...
               }
  
            ทั้งนี้เครื่องหมาย “ { ”  (open brace) กับ “ } ’’ (close brace) นั้นต้องครบคู่กันพอดี และโดยทั่วไปเรานิยมวาง  “ { ”  ไว้ให้ตรงกับคำสั่งเริ่มต้นบล็อก เช่น จากรหัสคำสั่งตัวอย่างที่เราวางไว้ตรงกับคำสั่ง if หรือ for เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้พิจารณาขอบเขตของบล็อกได้ง่าย แต่ไม่ใช่กฎข้อบังคับแต่อย่างใด  เราอาจเลือกวางในแบบที่เราถนัดก็ได้
            4.2 เครื่องหมายสิ้นสุดคำสั่ง (  ; )
             ใน C#เราจะใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน (semicolon) “ ; ’’ เป็นตัวแสดงจุดสิ้นสุดของแต่ละคำสั่ง  หากเราไม่ใส่เครื่องหมายนี้เพื่อคั่นระหว่างคำสั่ง โปรแกรมจะถือว่าเป็นคำสั่งเดียวกันไปตลอดแม้ว่าจะอยู่คนละบรรทัดก็ตาม  เช่น จากตัวอย่างมีคำสั่งทั้งหมด 3 คำสั่ง
x  =  10;
y  =  “xxx”;
z  =  x  +
                 10;
            เมื่อเครื่องหมาย  ;   เป็นตัวบ่งบอกจุดสิ้นสุดของคำสั่ง จึงสามารถมีคำสั่งอยู่ในบรรทัดเดียวกันมากกว่า 1 คำสั่งก็ได้ เช่น จากตัวอย่างมีคำสั่งทั้งหมด 3 คำสั่ง
x  =  10;  y  =  “xxx”;  z  =  x  +  10;
            แต่การเขียนรหัสคำสั่งในลักษณะนี้ ไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากจะทำให้เราโปรแกรมได้ยาก รหัสโปรแกรมดูไม่เป็นระเบียบ แต่ก็อาจนำมาใช้ในบางกรณีได้เช่นกัน
            บางคำสั่งไม่สามารถทำให้จบภายในบรรทัดเดียวได้ เพราะบางคำสั่งจะมีคำสั่งย่อยๆ อยู่ในภายอีกก็ได้ ดังนั้นคำสั่งเหล่านี้จะมีบล็อกของตนเอง เช่น คำสั่ง if คำสั่ง for คำสั่ง while เป็นต้น เมื่อคำสั่งใดมีบล็อกอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย ; ต่อท้ายเครื่องหมายบล็อกอีก แต่คำสั่งภายในต้องมีเครื่องหมาย ; ตามปกติ เช่น
 
if (เงื่อนไข) 
{
              คำสั่ง A;
              คำสั่ง B;
}  
นักเรียนควรจดจำไว้ว่า จะไม่มี  ;   อยู่ทั้งก่อนหน้า “{”   และหลัง “}”
4.3 การเขียนคำอธิบายประกอบแทรกไว้ในรหัสโปรแกรม
            คำอธิบาย (Comment) หมายถึง การเขียนข้อความใดๆ ที่ไม่ใช่คำสั่งปะปนกันไปกับ คำสั่งอื่นๆ เพื่ออธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งเอาไว้เพื่อความเข้าใจในรหัสโปรแกรมตรงส่วนนั้น ดังนั้นเพื่อให้โปรแกรมไม่สับสนว่าส่วนใดเป็นคำสั่ง ส่วนใดเป็นเพียงคำอธิบายไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโปรแกรม จึงต้องใช้เครื่องหมายมาเป็นตัวช่วยในการแยกแยะ การแทรกคำอธิบายสามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้คือ
1) รูปแบบ   // คำอธิบาย
            ใช้สำหรับคำอธิบายแบบบรรทัดเดียว (Single Line comment) โดยโปรแกรมจะถือว่าตั้งแต่สัญลักษณ์ // เป็นต้นไปจนถึงสิ้นสุดบรรทัดเป็นคำอธิบายทั้งหมด จะไม่นำมาพิจารณาในการประมวลผล เช่น
 
// สูตรคำนวณหาขนาดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
RectangleArea=width*length;
            หรือ
RectangleArea=width*length;    // สูตรคำนวณหาขนาดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
 
2) รูปแบบ  /* คำอธิบาย */
                 กรณีที่คำอธิบายของเราค่อนข้างยาวจำเป็นติองเขียนหลายๆ บรรทัด การใช้ // หลายๆครั้งอาจไม่สะดวกนัก เราก็สามารถใช้ /*...*/ ครอบคำอธิบายนั้นแทน โดยโปรแกรมจะถือว่าตั้งแต่สัญลักษณ์ /* เป็นต้นไปจะเป็นคำอธิบายทั้งหมดจนกว่าจะเจอสัญลักษณ์ */  จึงจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดคำอธิบาย เช่น
/*  นี่คือส่วนของคำอธิบาย
                 ที่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม
                   มีไว้เพื่อช่วยให้ทำความเข้าใจรหัสคำสั่งได้ง่ายขึ้น   */90
 
(อ้างจาก http://computer.bps.in.th/suteerat/start )