การออกแบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟซ
ระบบที่พัฒนาขึ้นสามารถประมวลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพสูง แต่การออกแบบอินเตอร์เฟชไม่ดี ทำให้ผู้ใช้ใช้งานยาก ก็ไม่มีประโยชน์อะไรถ้าผู้ใช้ไม่ยอมรับการทำงานของระบบนั้น
ดังนั้นการออกแบบยูสเซอร์อินเตอร์เฟช หมายถึง การออกแบบส่วนประสานระหว่างผู้ใช้ระบบกับระบบ เพื่อใช้ปฏิสัมพันธ์กันระหว่างผู้ใช้กับระบบ ซึ่งจะต้องออกแบบให้สามารถใช้งานง่ายโดยการเลือกอุปกรณ์และวิธีปฏิสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับการทำงานนั้น ๆ รวมถึงหน้าจอการทำงานจะต้องสวยงาม เพื่อให้สามารถดึงดูดผู้ใช้ให้น่าใข้งานมากขึ้น
หลักการออกแบบและพัฒนาโปรแกรมบนระบบปฏิบัติการ GUI
โปรแกรมสำเร็จรูปได้นำมาใช้งานด้านต่าง ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ใช้โปรแกรม ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากในยุคปัจจุบัน การที่โปรแกรมสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นที่ยอมรับได้ ควจมีการออกแบบและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนดังนี้
การออกแบบฟอร์ม
การออกแบบยูสเซอร์อินเทอร์เฟสที่ดีจะอยู่บนพื้นฐานของ การผสมผสานรวมระหว่าง การยศาสตร์ (Ergonomics) สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และอินเทอร์เฟสเทคโนโลยี เข้าด้วยกัน การยศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องความเป็นจริง กล่าวถึงวิธีการที่คนทำงาน เรียนรู้ และโต้ตอบกับคอมพิวเตอร์ สุนทรียศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องความสวยงาม เน้นวิธีการอินเทอร์เฟสที่ดึงดูดความสนใจและง่ายต่อการใช้ ส่วนของอินเทอร์เฟสเทคโนโลยี เป็นการจัดเตรียมโครงสร้างการทำงานที่ต้องการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายการออกแบบ นักวิเคราะห์ระบบควรพิจารณาหลายๆ แนวทาง รวมทั้งหัวข้อต่อไปนี้
เน้นวัตถุประสงค์พื้นฐาน
· กำหนดวัตถุประสงค์ในการออกแบบระบบให้สะดวก
· ออกแบบให้ง่ายต่อการเรียนรู้และจดจำ
· ออกแบบอินเทอร์เฟสที่เอื้อต่อการเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตให้แก่ผู้ใช้
· เขียนคำสั่ง กิจกรรม และการตอบของระบบ ที่ชัดเจนและสามารถคาดเดาได้
· ลดปัญหาของการป้อนข้อมูลให้น้อยที่สุด
· แก้ไขข้อผิดพลาดได้ง่าย
· สร้างขั้นตอนที่เป็นตรรกะและดึงดูดความสนใจ
สร้างอินเทอร์เฟสที่ง่ายต่อการเรียนรู้และใช้งาน
· ป้ายของการควบคุม ปุ่ม และสัญรูป (Icon) ต่างๆ ต้องชัดเจน
· เลือกภาพที่ผู้ใช้เข้าใจได้ง่าย ในการแสดงสัญรูปหรือปุ่มควบคุม
· เตรียมคำแนะนำหน้าจอภาพที่เป็นไปตามลำดับ รัดกุม และชัดเจน
· แสดงคำสั่งทั้งหมดที่มีในรายการเมนู แต่ทำให้คำสั่งที่ไม่สามารถใช้งานได้จางกว่า (Dim)
· สามารถกลับสู่เมนูหลักหรือเมนูก่อนหน้าได้โดยง่าย
จัดเตรียมคุณสมบัติที่ช่วยเสริมประสิทธิภาพ
· รวบรวมงาน คำสั่ง และหน้าที่ ที่เป็นกลุ่มคล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วยกัน
· สร้างรายชื่อเมนูเรียงตามตัวอักษรหรือเรียงตามการใช้งานบ่อย
· จัดทำทางลัด (Shortcut)
· การใช้ค่าโดยปริยาย (Default)
· การใช้ค่าเดิม ในการให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลใหม่
· เตรียมการค้นหาอย่างเร็ว (Fast-Find)
· ใช้ภาษาแบบธรรมชาติ (Natural)
ทำให้ง่ายต่อการขอความช่วยเหลือหรือแก้ไขข้อผิดพลาด
· กำหนดคำอธิบายการช่วยเหลือตลอดเวลาใช้งาน
· เตรียมความช่วยเหลือแบบให้ผู้ใช้เลือก
· เตรียมทางกลับโดยตรง
· แสดงข้อมูลเพื่อการติดต่อหน่วยช่วยเหลือ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ
· ให้มีการยืนยันก่อนการลบข้อมูล
· เตรียมแป้นยกเลิกการทำงาน
· ทำให้ส่วนผิดพลาดเห็นได้ชัดเจน
· ใช้การเชื่อมโยงข้อความหลายมิติ นำทางไปสู่หัวข้อความช่วยเหลืออื่นๆ
ลดปัญหาของการนำข้อมูลเข้า
· ทำการตรวจสอบข้อมูลที่สมเหตุผล (Data Validate Checks)
· แสดงข้อความเพื่อแจ้งให้ทราบหรือเพื่อการเตือน
· แสดงรายการข้อมูลที่กำหนดค่าที่ยอมรับได้ไว้แล้ว เพื่อป้องกันการใส่ข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง
· สร้างหลักเกณฑ์ที่บังคับให้เกิดบูรณภาพของข้อมูล
· ใช้หน้ากากข้อมูลเข้า
จัดเตรียมการแจ้งผลแก่ผู้ใช้
· แสดงข่าวสารหรือข้อความในตำแหน่งที่เหมาะสมบนจอภาพ
· เตือนผู้ใช้สำหรับการประมวลผลที่ต้องใช้เวลาหรือล่าช้า
· แสดงความคืบหน้าบนหน้าจอภาพให้นานเพียงพอที่ผู้ใช้จะอ่านได้
· ให้ผู้ใช้ทราบว่างานหรือการปฏิบัติงานนั้นสำเร็จหรือไม่
· เตรียมข้อความคำอธิบายสำหรับสัญรูปหรือภาพที่ใช้ควบคุมการทำงาน
· ใช้ข้อความที่เจาะจงและเป็นมืออาชีพ หลีกเลี่ยงข้อความน่ารัก ลึกลับหรือเคลือบคลุม
สร้างรูปแบบที่น่าสนใจ
· ใช้สีช่วยแสดงความแตกต่างของเนื้อหาบนจอภาพ
· ใช้องค์ประกอบเสริมพิเศษแต่น้อย
· ใช้ Hyperlinks เพื่อช่วยให้ผู้ใช้ไปสู่หัวข้อที่เกี่ยวเนื่องกัน
· จัดกลุ่มออบเจ็กต์และข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กันไว้ด้วยกัน
· จัดความหนาแน่นของข้อมูลในจอภาพ
· กำหนดตำแหน่ง ข้อความอย่างเป็นระเบียบในตำแหน่งเดียวกันทุกจอภาพ
· ใช้ถ้อยคำที่คงที่
· ต้องให้แน่ใจว่าคำสั่งใดก็ตามเมื่อมีการใช้งานจะต้องได้ผลลัพธ์เหมือนเดิม
· ต้องให้แน่ใจว่ากิจกรรมของเมาส์จะต้องเหมือนเดิมเสมอทั้งระบบ
· ต้องให้ผู้ใช้ยืนยันการป้อนข้อมูล โดยการกดแป้น ENTER หรือแป้น TAB เมื่อจบฟิลด์
ใช้ถ้อยคำและภาพที่คุ้นเคย
· ใช้รูปแบบของสีที่คุ้นเคยให้เหมาะสม
· เตรียมทางเลือกจากการกดแป้น (Keystroke) สำหรับคำสั่งแต่ละเมนู
· ใช้คำสั่งที่คุ้นเคยเท่าที่เป็นไปได้
· เลียนแบบวินโดว์ในการออกแบบอินเทอร์เฟส
· หลีกเลี่ยงคำนิยามที่ซับซ้อนและศัพท์เฉพาะทางเทคนิค
No comments:
Post a Comment