Wednesday, March 16, 2016

เริ่มต้นเขียนโปรแกรมด้วย C#

1.วิธีการเรียกใช้โปรแกรม Visual C#
            โปรแกรม Microsoft Visual C# 2010 Express เป็นชุดโปรแกรมที่บริษัทไมโครซอฟต์อนุญาตให้ดาวน์โหลดติดตั้งได้ฟรี เพราะเวอร์ชัน Express เป็นชุดที่ใช้ในการเรียนรู้การเขียนโปรแกรมเบื้องต้น จึงไม่ติดปัญหาด้านลิขสิทธิ์ นักเรียนสามารถดาวน์โหลดมาติดตั้ง และทดลองใช้เขียนโปรแกรมได้เองที่บ้าน  
            เมื่อเข้าสู่โปรแกรม C# นักเรียนจะพบหน้าต่าง Start Page ดังรูปต่อไปนี้
 
 
 
 
              การเขียนโปรแกรมจะต้องเริ่มต้นจากการสร้างโปรเจ็ค (Project) เสียก่อน โดยการคลิกที่ลิงค์  New Project ดังรูป หรือคลิกที่เมนู File แล้วเลือก New Project ก็ได้
            จากนั้นโปรแกรมจะเปิดหน้าต่าง New Project ขึ้นมาให้เลือกรูปแบบของโปรแกรมที่ต้องการ ให้นักเรียนเลือก Console Application แล้วคลิกตกลง ดังรูป
 
 
 
 
            จากนั้นนักเรียนจะได้  Project และไฟล์ที่ใช้ในการเขียนรหัสคำสั่งชื่อ Program.cs โดยไฟล์นี้โปรแกรม C# จะสร้างรหัสโปรแกรมมาให้ส่วนหนึ่ง ดังรูป เพื่อช่วยให้เราเขียนโปรแกรมได้เร็วขึ้น
 
 
 
 
           
 2.โครงสร้างคำสั่งโปรแกรมภาษา C#
 
                โปรแกรมภาษา C# มีรูปแบบโครงสร้างคำสั่งดังนี้
 
 
 
 
3.รูปแบบคำสั่ง
             โปรแกรมภาษา C# เป็นโปรแกรมภาษารุ่นล่าสุดของบริษัทไมโครซอฟต์ พัฒนามาจากภาษา C++ และ Java จุดประสงค์เพื่อให้สามารถเขียนโปรแกรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ C# สามารถเขียนโปรแกรมได้หลายรูปแบบ มีคำสั่งต่างๆ มากมายที่ให้เราเรียกใช้ และมีคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องมาก เช่น namespace, class, method, property, statement เป็นต้น บางครั้งจึงดูเหมือนยุ่งยากและซับซ้อนในการเขียนโปรแกรม ดังนั้นการเขียนโปรแกรมเบื้องต้นเราจะเรียนรู้เพียงบางส่วนเท่านั้น นักเรียนลองพิจารณารหัสโปรแกรม ต่อไปนี้ 
 
               string name = "Suteerat"; // สามารถทดลองเปลี่ยนชื่อก่อนรันได้             
               int size = name.Length;              
               if (size > 10)                              
                    Console.Write("Long name.");  
               else
                    Console.Write("Short name."); 
               Console.ReadKey();                    

           โปรแกรมตัวอย่างนี้จะมีคำสั่งทั้งหมด 6 คำสั่ง (คำสั่งที่มีเครื่องหมาย ; 5 คำสั่ง และคำสั่งตรวจสอบเงื่อนไข if...else อีก 1 คำสั่ง)  ขอกล่าวโดยสรุปเกี่ยวกับสีของคำสั่ง ดังนี้
            1.สีน้ำเงิน หมายถึงคำสั่งที่เป็นคำสงวนของโปรแกรม C# ได้แก่คำว่า string, int, if, else คำเหล่านี้เป็นคำสั่งสำเร็จของ C# ที่เรานำมาใช้เพื่อจุดประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ซึ่งเราจะไม่สามารถตั้งชื่อตัวแปรซ้ำกับคำเหล่านี้ได้ string กับ int เราใช้สำหรับประกาศตัวแปรให้เป็นชนิดข้อความและตัวเลขจำนวนเต็มตามลำดับ ส่วนคำสั่ง if...else ใช้สำหรับการตรวจสอบเงื่อนไขในการเขียนโปรแกรมแบบทางเลือก ข้อสังเกตก็คือ คำสั่งเหล่านี้จะอยู่แบบเดี่ยวๆ ไม่ต้องมีจุดต่อท้ายเหมือนคำสั่งอื่นๆ และอักษรตัวแรกของคำสั่งจะเป็นตัวพิมพ์เล็กเสมอ
            2.สีฟ้า เป็นการบ่งบอกว่าคำเหล่านี้เป็นชื่อของคลาสที่เรานำมาใช้ในการเขียนโปรแกรม ซึ่งคลาสก็คือที่ที่เก็บเมธอดซึ่งเป็นคำสั่งเพื่อให้โปรแกรมทำงานอย่างหนึ่งอย่างใด การที่เราจะเรียกใช้เมธอดใดก็ตามเราจะต้องระบุชื่อของคลาสเสียก่อนแล้วตามด้วยเครื่องหมายจุดแล้วจึงระบุชื่อของเมธอดอีกที จากโปรแกรมเราจะเรียกใช้คลาส Console ข้อสังเกตก็คือคำสั่งที่เป็นคลาสเหล่านี้มักจะมีจุดต่อท้ายแล้วตามด้วยคำสั่งอื่นๆ อีกเสมอ และอักษรตัวแรกของคำสั่งจะเป็นตัวพิมพ์ใหญ่เสมอ
            3.สีดำ สีนี้จะนำมาใช้กับคำสั่งหลายๆ ชนิด เช่น ชื่อของตัวแปร ได้แก่ name และ size (ชื่อของตัวแปรเราจะเป็นผู้ตั้งชื่อเอง) ชื่อของเมธอด ได้แก่ Write และ ReadKey ชื่อของพร็อพเพอตี้ ได้แก่ Length เครื่องหมายต่างๆ ได้แก่ =  >   .  ( ) และ ; ใช้กับค่าคงที่ที่เป็นตัวเลขได้แก่ 10 ดังนั้นสีดำ จึงถูกนำมาใช้มากที่สุด แสดงว่าสีดำเป็นสีที่ไม่ต้องการเน้นเป็นพิเศษนั่นเอง ข้อสังเกตที่สำคัญก็คือ ถ้าเป็นชื่อของเมธอดจะพิมพ์ต่อเนื่องมาจากคลาสอีกทีโดยมีเครื่องหมายจุดเป็นตัวคั่นหรือแบ่งแยกระหว่างคลาสกับเมธอด นอกจากนั้นเมธอดจะมีวงเล็บต่อท้ายเสมอและอักษรตัวแรกจะขึ้นต้นด้วยอักษรพิมพ์ใหญ่เสมอ
            ส่วนพร็อพเพอตี้นั้นอักษรตัวแรกจะขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่เสมอเช่นกัน แต่จะไม่มีวงเล็บต่อท้ายเหมือนเมธอดและพร็อพเพอตี้อาจจะอยู่ต่อท้ายของตัวแปร หรือเมธอดก็ได้
            ไม่ว่าจะเป็นคลาส เมธอด หรือพร็อพเพอตี้จะเป็นคำสั่งสำเร็จรูปที่ C# เตรียมไว้ให้เรานำมาใช้ได้เลย ดังนั้นเราจะพิมพ์ชื่อผิดเพี้ยนไม่ได้ โปรแกรมจะแจ้งข้อผิดพลาดทันที เช่น คำสั่ง ReadKey เราจะพิมพ์เป็น readkey หรือ Readkey หรือ readKey ไม่ได้เด็ดขาด
            4.สีแดง เป็นสีที่นำมาใช้ค่าคงที่ที่เป็นข้อความ (string) หรือ ตัวอักขระ (char) ที่อยู่ภายใต้เครื่องหมาย "..." และ '...' เท่านั้น 
            5.สีเขียว ใช้กับคำอธิบายโปรแกรม ซึ่งจะไม่มีผลอะไรกับการทำงานของโปรแกรม
หมายเหตุ    นักเรียนจะเห็นว่าคำสั่งสำหรับทำงาน 1 คำสั่งจะมาจากคำสั่งย่อยๆ หลายๆ คำสั่ง สำหรับรายละเอียดในเรื่องของคำสั่งต่างๆ นักเรียนจะได้เรียนรู้ในภายหลัง
 4.องค์ประกอบพื้นฐานที่ควรรู้จัก
            มีองค์ประกอบพื้นฐานที่สำคัญบางอย่างตามรูปแบบของ C# ที่เราควรรู้จักมีดังนี้
 
4.1 บล็อก  { ... }
            รูปแบบของภาษา  ก็เช่นเดียวกับ c / c ++ คือจะใช้บล็อก { ... } ในการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการทำงานในแต่ละส่วน ซึ่งภายในบล็อกอาจมีบล็อกย่อยๆ ซ้อนลงไปได้อีก  ตามลักษณะของงาน เช่น
               if (……………..) 
                {
               for (……………..) 
                   {
                          ……….
                          ……….
                    }
                ……….
                ……...
               }
  
            ทั้งนี้เครื่องหมาย “ { ”  (open brace) กับ “ } ’’ (close brace) นั้นต้องครบคู่กันพอดี และโดยทั่วไปเรานิยมวาง  “ { ”  ไว้ให้ตรงกับคำสั่งเริ่มต้นบล็อก เช่น จากรหัสคำสั่งตัวอย่างที่เราวางไว้ตรงกับคำสั่ง if หรือ for เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้พิจารณาขอบเขตของบล็อกได้ง่าย แต่ไม่ใช่กฎข้อบังคับแต่อย่างใด  เราอาจเลือกวางในแบบที่เราถนัดก็ได้
            4.2 เครื่องหมายสิ้นสุดคำสั่ง (  ; )
             ใน C#เราจะใช้เครื่องหมายเซมิโคลอน (semicolon) “ ; ’’ เป็นตัวแสดงจุดสิ้นสุดของแต่ละคำสั่ง  หากเราไม่ใส่เครื่องหมายนี้เพื่อคั่นระหว่างคำสั่ง โปรแกรมจะถือว่าเป็นคำสั่งเดียวกันไปตลอดแม้ว่าจะอยู่คนละบรรทัดก็ตาม  เช่น จากตัวอย่างมีคำสั่งทั้งหมด 3 คำสั่ง
x  =  10;
y  =  “xxx”;
z  =  x  +
                 10;
            เมื่อเครื่องหมาย  ;   เป็นตัวบ่งบอกจุดสิ้นสุดของคำสั่ง จึงสามารถมีคำสั่งอยู่ในบรรทัดเดียวกันมากกว่า 1 คำสั่งก็ได้ เช่น จากตัวอย่างมีคำสั่งทั้งหมด 3 คำสั่ง
x  =  10;  y  =  “xxx”;  z  =  x  +  10;
            แต่การเขียนรหัสคำสั่งในลักษณะนี้ ไม่ค่อยนิยมทำกัน เนื่องจากจะทำให้เราโปรแกรมได้ยาก รหัสโปรแกรมดูไม่เป็นระเบียบ แต่ก็อาจนำมาใช้ในบางกรณีได้เช่นกัน
            บางคำสั่งไม่สามารถทำให้จบภายในบรรทัดเดียวได้ เพราะบางคำสั่งจะมีคำสั่งย่อยๆ อยู่ในภายอีกก็ได้ ดังนั้นคำสั่งเหล่านี้จะมีบล็อกของตนเอง เช่น คำสั่ง if คำสั่ง for คำสั่ง while เป็นต้น เมื่อคำสั่งใดมีบล็อกอยู่แล้วก็ไม่จำเป็นต้องใส่เครื่องหมาย ; ต่อท้ายเครื่องหมายบล็อกอีก แต่คำสั่งภายในต้องมีเครื่องหมาย ; ตามปกติ เช่น
 
if (เงื่อนไข) 
{
              คำสั่ง A;
              คำสั่ง B;
}  
นักเรียนควรจดจำไว้ว่า จะไม่มี  ;   อยู่ทั้งก่อนหน้า “{”   และหลัง “}”
4.3 การเขียนคำอธิบายประกอบแทรกไว้ในรหัสโปรแกรม
            คำอธิบาย (Comment) หมายถึง การเขียนข้อความใดๆ ที่ไม่ใช่คำสั่งปะปนกันไปกับ คำสั่งอื่นๆ เพื่ออธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งเอาไว้เพื่อความเข้าใจในรหัสโปรแกรมตรงส่วนนั้น ดังนั้นเพื่อให้โปรแกรมไม่สับสนว่าส่วนใดเป็นคำสั่ง ส่วนใดเป็นเพียงคำอธิบายไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานของโปรแกรม จึงต้องใช้เครื่องหมายมาเป็นตัวช่วยในการแยกแยะ การแทรกคำอธิบายสามารถทำได้ 2 ลักษณะดังนี้คือ
1) รูปแบบ   // คำอธิบาย
            ใช้สำหรับคำอธิบายแบบบรรทัดเดียว (Single Line comment) โดยโปรแกรมจะถือว่าตั้งแต่สัญลักษณ์ // เป็นต้นไปจนถึงสิ้นสุดบรรทัดเป็นคำอธิบายทั้งหมด จะไม่นำมาพิจารณาในการประมวลผล เช่น
 
// สูตรคำนวณหาขนาดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
RectangleArea=width*length;
            หรือ
RectangleArea=width*length;    // สูตรคำนวณหาขนาดพื้นที่สี่เหลี่ยมผืนผ้า
 
2) รูปแบบ  /* คำอธิบาย */
                 กรณีที่คำอธิบายของเราค่อนข้างยาวจำเป็นติองเขียนหลายๆ บรรทัด การใช้ // หลายๆครั้งอาจไม่สะดวกนัก เราก็สามารถใช้ /*...*/ ครอบคำอธิบายนั้นแทน โดยโปรแกรมจะถือว่าตั้งแต่สัญลักษณ์ /* เป็นต้นไปจะเป็นคำอธิบายทั้งหมดจนกว่าจะเจอสัญลักษณ์ */  จึงจะถือว่าเป็นการสิ้นสุดคำอธิบาย เช่น
/*  นี่คือส่วนของคำอธิบาย
                 ที่ไม่มีผลต่อการทำงานของโปรแกรม
                   มีไว้เพื่อช่วยให้ทำความเข้าใจรหัสคำสั่งได้ง่ายขึ้น   */90
 
(อ้างจาก http://computer.bps.in.th/suteerat/start )

No comments:

Post a Comment