Saturday, March 26, 2016

การประกันราคาขั้นต่ำคืออะไร และทำเพื่อใคร

การกำหนดราคาขั้นต่ำ(Minimum Control)

       มาตรการนี้มักนิยมใช้กับสินค้าเกษตรกรรม ซึ่งระดับราคาสินค้าที่กําหนดโดย  อุปสงค์และอุปทานของสินค้ามักมีระดับต่ำเกินไป อาจเนื่องมาจากอุปทานมีมากเกินไป หรืออุปสงค์ที่ปรากฏในตลาดไม่ใช่อุปสงค์ที่แท้จริง อันเกิดจากการรวมตัวของผู้ซื้อเพื่อเพิ่มอํานาจการต่อรอง ความเดือดร้อนจึงตกอยู่กับผู้ผลิต (เกษตรกร) รัฐบาลจึงจําเป็นต้องเข้าช่วยบรรเทาความเดือดร้อนที่เกิดขึ้น โดยการกําหนดราคาขั้นต่ําของสินค้า ตามปกติราคาขั้นต่ํามักจะกําหนดให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นโยบายนี้เรียกว่า นโยบายประกันราคาหรือพยุงราคา (Price Guarantee or Price Support)
ซึ่งได้มีผู้พยายามแยกความแตกต่างระหว่างนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคา

นโยบายประกันราคา  เป็นการกําหนดราคาสินค้าให้สูงกว่าดุลยภาพเดิม โดยได้เข้าไปเปลี่ยนแปลงลักษณะเส้นอุปสงค์และอุปทาน เป็นการเข้าแทรกแซงราคาโดยตรง
นโยบายพยุงราคา เป็นวิธีการยกระดับราคาดุลยภาพให้สูงขึ้น โดยเพิ่มระดับอุปสงค์ให้สูงขึ้น หรือลดระดับอุปทานให้ต่ําลง โดยกลไกราคายังทํางานปกติ

อย่างไรก็ตาม ในการวิเคราะห์ทั่วๆไป มักจะกล่าวถึงนโยบายประกันราคาและนโยบายพยุงราคารวมๆ กัน โดยหมายถึง การที่รัฐบาลเข้าไปกําหนดราคาให้สูงกว่าราคาดุลยภาพ นั่นเอง


 นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ

      จากรูป ราคาและปริมาณดุลยภาพคือ OP0 และ OQ0 ถ้ารัฐบาลเห็นว่าราคาOP0 บาท เป็นราคาที่ต่ําเกินไป รัฐบาลก็มากําหนดราคาสินค้าให้สูงขึ้นเป็น OP1 และปรากฏว่าณ ระดับราคา OP1 ปริมาณการเสนอซื้อจะลดลงเหลือ OQ1 ในขณะที่ปริมาณเสนอขายเพิ่มขึ้นเป็น OQ2 ทําให้เกิดอุปทานส่วนเกิน (Excess Supply) = Q1Q2 ดังนั้นการกําหนดให้มีการขายสินค้าในราคา OP1 ทําให้สินค้าจํานวนหนึ่งไม่สามารถขายได้ดังนั้นรัฐบาลจึงต้องรับผิดชอบกับจํานวนสินค้าที่เหลืออยู่ ในทางปฏิบัติรัฐบาลอาจใช้มาตรการใดมาตรการหนึ่ง เพื่อจัดการกับส่วนเกินของสินค้าที่เกิดขึ้น ดังนี้

(ก) รัฐบาลรับซื้อสินค้าส่วนที่เหลือ  โดยรัฐบาลจะต้องจัดสรรงบประมาณเพื่อซื้อ
อุปทานส่วนเกินเป็นจํานวนเงิน = OP1 × Q1Q2 = พ.ท. Q1ABQ2 และต้องเสียค่าใช้จ่ายใน
การเตรียมจัดยุ้งฉางและไซโลไว้ซึ่งสินค้าที่รัฐบาลรับซื้อไว้อาจนําไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้เช่น
นําออกไปช่วยเหลือประชาชนเมื่อเกิดอุทกภัย อัคคีภัย และเหตุการณ์อื่นๆ ที่ไม่คาดฝัน รวมทั้ง
นําออกไปช่วยเหลือผู้ขาดแคลน หรือส่งไปยังต่างประเทศ

(ข) รัฐบาลจ่ายเงินอุดหนุนแก่ผู้ผลิต  มาตรการนี้รัฐบาลปล่อยให้เกษตรกรขาย
ทั้งหมด = OQ2 ราคาที่ผู้ซื้อเต็มใจซื้อทั้งหมดคือราคา OP2 ส่วนต่างระหว่างราคา OP1 และ
OP2 ซึ่งเท่ากับ P1P2 ดังนั้นรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้เท่ากับส่วนต่างของราคาคือ P1P2

ในกรณีนี้รัฐบาลจะต้องจ่ายเงิน = พ.ท. P1BCP2




นโยบายประกันราคาโดยรัฐบาลให้เงินอุดหนุน

    จากมาตรการทั้ง 2 มาตรการ จะใชมาตรการใดขึ้นอยู่กับจํานวนเงินที่รัฐบาลจะต้องจ่ายในมาตรการใดมากน้อยกว่ากัน ซึ่งจําเป็นต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับความยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานมาพิจารณาประกอบด้วย

การกำหนดราคาขั้นต่ำ รัฐจะเข้ามาแทรกแซงตลาดโดยการประกันราคาหรือพยุงราคาในกรณีที่สินค้า
ชนิดนั้นมีแนวโน้มจะต่ำมากหรือต่ำกว่าราคาขั้นต่ำ การควบคุมราคาขั้นต่ำเป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ผลิตไม่ให้ได้รับความเดือดร้อนจากการที่ราคาสินค้าที่ผลิตได้ต่ำเกินไปไม่คุ้มทุนที่ลงไป ราคาตลาดอยู่ต่ำกว่าราคาประกันหรือราคาขั้นต่ำ จะก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้ผลิตเพราะขายสินค้าได้น้อยกว่าราคาขั้นต่ำ
โดยหลักการแล้วรัฐสามารถทำได้ 2 ทางคือ

- เพิ่มอุปสงค์ที่มีต่อสินค้าโดยรัฐอาจลดภาษีสินค้าชนิดนั้นหรือเชิญชวนให้บริโภคสินค้าชนิดนั้นมากขึ้น
- ลดอุปทาน โดยการจำกัดการผลิต เช่น การผลิตสินค้าชนิดนั้นลดลงและผลิตสินค้าชนิดอื่นแทน

ที่มา http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf

No comments:

Post a Comment