Saturday, March 26, 2016

ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา และอุปทานต่อราคา มีประโยชน์อย่างไร


Price Elasticity of Demand(ความยืดหยุ่นของอุปสงค์ต่อราคา)
  • จะเห็นว่ากราฟบนนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาจาก P1 เป็น P2 ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการจาก C ไป D ซึ่งเปลี่ยนไปค่อนข้างเยอะ
  • ในขณะเดียวกันกราฟล่างนั้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงราคาจาก P1 เป็น P2 ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการจาก A ไป B ซึ่งเปลี่ยนไปค่อนข้างน้อย
  • การที่กราฟบนเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการมากกว่ากราฟล่างทั้งๆที่มีการเปลี่ยนแปลงราคาในปริมาณเท่ากัน เราเรียกว่า กราฟบนนั้นมี Price Elasticity of Demand สูงกว่ากราฟล่าง
เราสามารถหาค่า Price Elasticity of Demand ได้จากสูตร

Ped (ε) = %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการ / %การเปลี่ยนแปลงของราคา
เช่น ถ้าขึ้นราคาสินค้า 20% แล้วทำให้ขายสินค้าได้ลดลง 10%
Price Elasticity of Demand = -10% / 20% = -0.5
เครื่องหมายลบที่ได้ เป็นเรื่องปกติของ Price Elasticity of Demand เนื่องจากการขึ้นราคาทำให้ demand ลดลง (ไปทิศทางตรงข้ามกันนั่นเอง)
ส่วนปริมาณของตัวเลข ถ้า

  • ε > 1 = Elastic : การเปลี่ยนแปลงราคาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการในสัดส่วนที่สูงกว่า
  • ε < 1 = Inelastic : การเปลี่ยนแปลงราคาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการในสัดส่วนที่ต่ำกว่า
  • ε = 1 = Unit Elastic : การเปลี่ยนแปลงราคาจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาณความต้องการในสัดส่วนที่เท่ากัน

สิ่งที่ต้องระวัง
Price Elasticity of Demand ของแต่ละตำแหน่งบนเส้น Demand นั้นมีค่าไม่เท่ากัน โดยจะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ ดังแสดงในภาพด้านล่าง



ε = %การเปลี่ยนแปลงของปริมาณความต้องการ / %การเปลี่ยนแปลงของราคา
ε = ΔQ/Q ÷ ΔP/P
ปัญหาอยู่ที่ว่าจะใช้ Q และ P ตัวไหน? ตัวแรก ตัวหลัง(ที่เปลี่ยนไปแล้ว) ??
คำตอบคือ เรานิยมเอามาเฉลี่ยกันครับ ดังนั้นจะได้ว่า
ε = (ΔQ/Qavg) ÷ ( ΔP/Pavg)
ดังนั้น ถ้าเราจะหา ε ที่จุด B เราก็ควรหาการเปลี่ยนแปลงจากจุด A ไป C ครับ (ให้จุด B อยู่กึ่งกลาง)
  • นั่นก็คือ ε = (20-10 /15) ÷ (2-4 /3)
  • ε = (10 /15) ÷ (-2 /3)
  • ε = -1 นั่นเอง
ปัจจัยที่ส่งผลต่อ Price Elasticity of Demand

  • ปริมาณและความใกล้เคียงของสินค้าทดแทน = ถ้าหากมีสินค้าทดแทนได้ง่ายๆ คนก็สามารถเปลี่ยนไปใช้สินค้าทดแทนได้ง่ายขึ้น เวลาขึ้นราคาเล็กน้อย demand อาจจะหายไปเยอะ แปลว่า จะมี Price Elasticity of Demand เยอะนั่นเอง
  • สัดส่วนของรายได้ที่ใช้จ่ายสินค้านั้น = ยิงเราต้องจ่ายสินค้านั้นสูงเมื่อเทียบกับรายได้ของเรา เราก็ยิ่งจะไม่อยากจะซื้อเมื่อมันราคาสูงขึ้น แปลว่า จะมี Price Elasticity of Demand เยอะนั่นเอง
  • ช่วงเวลา = ยิ่งเวลาผ่านไปมาก คนก็จะยิ่งหาสินค้าทดแทนได้มากขึ้นๆ นั่นแปลว่า เมื่อเวลาผ่านไป Price Elasticity of Demand ก็จะมากนั่นเอง ( แปลว่า กราฟจะมี slope ต่ำลงๆ เมื่อเวลาผ่านไป ) 
การนำไปใช้ประโยชน์

Revenue = Price x Quantity

ถ้าเราต้องการจะเพิ่ม Revenue เราจะลดราคาหรือจะเพิ่มราคา? คำตอบก็อยู่ที่ Price Elasticity of Demand นั่นเอง
สมมติ ถ้าสินค้าเรามี Demand แบบ Inelastic : แปลว่าถ้าหากเราลดราคาแล้ว Quantity จะเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยกว่า เราจะพบว่า Revenue ของเราก็จะลดลง ดังนั้น เราควรจะขึ้นราคามากกว่า เพราะ Quantity จะลดในสัดส่วนที่น้อยกว่า เราจะพบว่า Revenue ของเราก็จะมากขึ้นได้!!
Elasticity of Supply (ความยืดหยุ่นของอุปทาน )


กฎที่สำคัญก็คือ “เมื่อราคาของสินค้าสูงขึ้น ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าก็จะสูงขึ้น” นั่นเป็นเพราะว่าบริษัทจะได้กำไรมากขึ้นด้วยนั่นเอง

ราคาไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่ทำให้ Supply เปลี่ยนไป แต่ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกดังนี้

  • ต้นทุนการผลิต = เมื่อต้นทุนสูงขึ้น กำไรก็จะลดลง บริษัทก็จะทำการผลิตน้อยลง สาเหตุที่ทำให้ต้นทุนเปลี่ยนไปมีดังนี้
  • ราคาต้นทุนสินค้าเปลี่ยนไป, เทคโนโลยีเปลี่ยน, การเปลี่ยนแปลงทางองค์กร, นโยบายของภาครัฐ
  • ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าทดแทน = หากสินค้าทดแทนสามารถทำกำไรได้มาก ผู้ผลิตก็จะเปลี่ยนไปทำสินค้าทดแทนมากขึ้น ทำให้ Supply ลดลง
  • ความสามารถในการทำกำไรของสินค้าอุปทานร่วม = เวลาเราผลิตสินค้าบางอย่าง ก็อาจจะต้องมีการผลิตสินค้าอีกอย่างออกมาพร้อมกันด้วย เราเรียกว่า สินค้าอุปทานร่วม (joint supply) และถ้าหากมันมีกำไรมาก Supply ของสินค้าตัวที่พิจารณานี้ก็จะมากด้วย
  • เหตุการณ์ไม่คาดฝัน = เวลาเกิดภัยธรรมชาติหรือเหตุการณ์ไม่คาดฝัน ก็จะส่งผลต่อ supply เช่นกัน
  • การคาดการราคาสินค้าในอนาคต = หากคาดว่าในอนาคตสินค้าจะมีราคาสูงขึ้น ผู้ผลิจก็จะ supply น้อยลงในปัจจุบัน (เอาไว้รอขายตอนราคาสูง)
  • จำนวนของผู้ผลิต = หากมีผู้ผลิตเข้ามาในตลาดมาก supply ก็จะเยอะ
ข้อ ควรระวัง!!

  • เมื่อราคาเปลี่ยนไป ==> จะมีการเลื่อนภายในเส้นกราฟ Supply (Movement along curve) เราจะเรียกว่า ปริมาณความต้องการผลิตสินค้าเปลี่ยนไป ( Change in the Quantity Supplied )

ประโยชน์ของค่าความหยืดหยุ่นของอุปสงค์และอุปทานต่อราคา
  • ในการวางนโยบายหรือมาตรการของรัฐ เช่น การจัดเก็บภาษีจากสินค้า รัฐจะต้องรู้ว่าสินค้านั้นมีความหยืดหยุ่นเท่าไร เพื่อจะได้ทราบว่าภาระภาษีจะตกไปบุคคลกลุ่มใด
  • ช่วยให้หน่วยุรกิจสามารถดำเนินกลยุทธทางด้านราคาได้อย่างถูกต้องว่าสินค้าชนิดใดควรตั้งราคาสินค้าไว้สูงหรือต่ำเพียงใด ควรเพิ่มหรือลดราคาสินค้า จึงจะทำให้รายได้รวมกำไรของธุรกิจจะเพิ่มขึ้น
  • นำมาใช้ประกอบการพยากรณ์แนวโน้มกิจกรรมทางเศรษฐกิจ
ที่มา http://www.coursework4you.co.uk/essays-and-dissertations/sample5.php

No comments:

Post a Comment