กําหนดราคาขั้นสูง (Maximum Price Control)
เป็นนโยบายที่รัฐบาลนํามาใช้เมื่อเห็นว่าราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยอุปสงค์และอุปทานของตลาด เป็นราคาที่สูงเกินไปจนก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่ผู้บริโภค โดยเฉพาะถ้าเป็นสินค้าที่จําเป็นแก่การครองชีพ ดังนั้นรัฐบาลจึงจําเป็นจะต้องหาทางช่วยแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน โดยการกําหนดราคาขั้นสูง โดยทั่วไปราคาขั้นสูงมักต่ํากว่าราคาดุลยภาพ นโยบายดังกล่าวมักเรียกกันว่า นโยบายควบคุมราคา (Price Control Policy)
(นโยบายการควบคุมราคา)
จากรูป ราคาสินค้าที่ถูกกําหนดโดยกลไกราคา คือ OP0 ซึ่งเป็นราคาที่รัฐบาลเห็นว่าสูงเกินไป จึงเข้าแทรกแซงราคาสินค้าให้ต่ําลงเป็น OP1 มีผลทําให้ปริมาณการเสนอซื้อเป็น OQ1 แต่ปริมาณการเสนอขายกลับลดลงเป็น OQ2 เกิดอุปสงค์ส่วนเกิน (Excess Demand) = O1Q2 ก่อให้เกิดการขาดแคลนสินค้า = Q1Q2
การใช้นโยบายประกันราคาขั้นสูงของรัฐบาล ก่อให้เกิดผลตามมาคือ
(ก) จะเกิดการขายในลักษณะใครมาก่อนได้ก่อน ใครมาทีหลังไม่ได้ก่อให้เกิดการรอ
คิวเป็นเวลานาน ก่อให้เกิดความสูญเสียทางด้านเวลา ถ้าคิดเป็นเงินแล้วอาจสูงกว่าราคาที่ซื้อขาย
(ข) อาจเกิดการลดลงในคุณภาพของสินค้า หรือการให้บริการหลังขาย
(ค) เกิดการลักลอบซื้อขายสินค้ากันอย่างลับๆ ที่เรียกกันว่า ตลาดมืด (Black Market)
โดยราคาที่ซื้อขายจะสูงกว่าราคาควบคุม แต่ไม่สูงกว่าราคาสินค้าสูงสุดที่ผู้ซื้อเต็มใจจ่ายในที่นี้ OP2
เพื่อให้มาตรการการกําหนดราคาขั้นสูงทํางานได้รัฐบาลมักจะใช้นโยบายควบคู่กันไป คือ
(ก) นโยบายการปันส่วน (Rationing Policy) เพื่อกระจายสินค้าที่มีไม่เพียงพอให้ผู้บริโภคอย่างทั่วถึง
โดยวิธีการแจกคูปอง ซึ่งเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า
(ข) การนําเข้า (Import) เพื่อแก้ปัญหาสินค้าที่ขาดแคลนทําให้ Supply ของสินค้าเพิ่มขึ้น
เช่นในกรณีที่รัฐบาลเคยนําเข้าปูนซีเมนต์จากจีน หรือน้ําตาลจากอังกฤษ เพื่อแก้ปัญหา
การขาดแคลนสินค้าดังกล่าว
การกำหนดราคาขั้นสูง เป็นมาตรการที่รัฐบาลควบคุมราคาเพื่อให้ความช่วยเหลือผู้บริโภคที่ได้รับความเดือดร้อน จากการที่สินค้าที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตมีราคาสูงขึ้น การควบคุมราคาขั้นสูงรัฐบาลจะกำหนดราคาขายสูงสุดของสินค้านั้นไว้และห้ามผู้ใดขายสินค้าเกินกว่าราคาที่รัฐบาลกำหนด
ที่มา http://e-book.ram.edu/e-book/e/EC111(H)/EC111(H)-2.pdf
No comments:
Post a Comment